วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เมนูง่ายๆ..ของคนชอบกินผัก
มื้อเย็นวันนี้อยากจะกินอะไรที่เบาๆ ก็เลยทำแกงจืดตำลึงนี่แหละ กินร้อนๆ ผักล้วนๆ สบายท้องดี เมนูง่ายๆแบบนี้ใครๆก็ทำเป็นทั้งนั้น แต่ที่สนใจก็คือวัสดุที่อยู่ในเมนูวันนี้ต่างหาก มันจะให้คุณค่าอะไรกับเราบ้างนะ เมนูเพื่อสุขภาพ...
ถ้าอย่างงั้น เรามาลองดูสูตรอาหาร(ตามใจฉันนะ) ที่ใส่ลงไปในเมนูเพื่อสุขภาพแกงจืดตำลึงวันนี้มีอะไรบ้าง......
อันที่เห็นกองโตๆน่ะ ใบตำลึง เป็นตัวเอกของถ้วยนี้เลย ที่เป็นก้านยาวๆน่ะผักหวาน เก็บมาจากหลังห้อง ปลูกเอง มีอยู่ไม่กี่ก้านหรอกก็เอามากินซะเลย ใบแมงลัก อันนี้ชอบ ใส่แล้วหอมชวนรับประทานยิ่ง และเห็ดนางฟ้า ใครอยากจะกินอะไรก็ใส่ได้ตามใจชอบ ปรุงเสร็จเรียบร้อยก็มีหน้าตาเป็นแบบนี้แหละ
แล้วในแกงจืดตำลึงถ้วยนี้จะให้ประโยชน์อะไรกับเราบ้างนะ....
ตำลึง : มีทั้งสารเบต้าแคโรทีนมากกว่าฟักทองและมันเทศซะอีก ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน มีฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอาซิน และวิตามินซี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า หากใครกินตำลึงบ่อยๆ เส้นใยอาหารในตำลึงก็สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและได้อีกด้วย
ผักหวาน : แม้จะเป็นผักพื้นบ้านธรรมดา แต่ยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าอย่างมาก เนื่องจากมีโปรตีนมากกว่าผักหลายชนิดรวมทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรตีน ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ไม่ให้กระดูกอ่อนและเปราะ การยืดหดของกล้ามเนื้อก็จะมีประสิทธิภาพสูงสุดตามไปโดยอัตโนมัติ แต่ควรปรุงให้สุกซะก่อนนะ
ใบแมงลัก : ช่วยขับเหงื่อ ขับลมในลำไส้ แก้วิงเวียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือจะนำใบแมงลักมาต้มกับน้ำ ดื่มเป็นประจำก็จะช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้หรือ โรคทางเดินอาหารได้ด้วย และใบแมงลักยังให้สารเบต้าแคโรทีนและแคลเซียม ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย
เห็ดนางฟ้า : มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดน้ำตาลในเลือด ปรับสภาพความดันโลหิต ลดการอักเสบ ยังยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย (แต่เคยได้ยินมาว่ากินเห็ดต้องนำมาปรุง 3 ชนิดพร้อมๆกัน จะมีประโยชน์มากกว่า อันนี้ไว้ค่อยศึกษาอีกที)
มีแกงจืดตำลึงหนึ่งถ้วยล่ะ แต่ยังไม่พอแค่นี้ เมนูที่คู่กันก็ต้องนี่เลย น้ำพริกกะปิ (ความชอบส่วนตัว)และต้องมีผักเหนาะด้วยนะ ทั้งผักสด ผักลวก สำหรับผักเหนาะวันนี้ก็มี ผักกูด(ลวก) ดอกแคแดง(ลวก)ไม่ค่อยได้มีให้กินบ่อยนัก ถั่วพลู และที่เป็นใบเรียวๆ ไม่ได้เอามาประดับจานให้สวยงาม แต่กินได้ อร่อยด้วย ก็คือ แปะตำปึง กินผักพวกนี้แล้วได้อะไรบ้างล่ะ
ผักกูด : ผักกูดถือได้ว่าเป็นอาหารพิเศษอย่างหนึ่งจากธรรมชาติมีสารเบต้าแคโรที นและธาตุเหล็กในตัวสูง เมื่อรับประทานแล้วจึงได้ประโยชน์
ดอกแคแดง : ใช้รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนฤดู (เวลาลวกแล้วมันจะเป็นสีออกม่วงๆน่ะ)
ถั่วพลู : เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างวิตามิน เอ ซี และ อี และยังเป็นผักที่มีโปรตีนที่ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันบางชนิดขึ้น รวมทั้งมีแร่ธาตุฟอสฟอรัส ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน รวมทั้งแก้อาการอ่อนเพลียได้ด้วย นอกจากนั้นการกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมาก ทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก
แปะตำปึง : จะฟอกเลือด ปรับระบบเลือดให้ดีขึ้น น้ำเหลืองจะดีขึ้น รักษาแผลภายใน-ภายนอก ชะล้างสารพิษภายในร่ายกายออกทาง (อุจจาระ ปัสสาวะ และทางตา) ทำให้กินข้าวใด้นอนหลับอาการปวดต่าง ๆ ก็จะหาย ระบบหายใจจะดีขึ้นไม่เหนื่อยหอบ ขับลมแน่นภายในช่องท้อง โรคที่ใบยาแปะตำปึง ได้รักษาหายมาแล้ว ได้แก่โรคเบาหวาน ความดันสูง-ต่ำ โรคหืดหอบ-ภูมิแพ้ โรคมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวารหนัก งูสวัด โรคเก๊า ขับนิ่ว แผลสะเก็ดเงิน แผดฝีหนองทั่วไป โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง เนื้องอกต่าง ๆ ในไต ปวดเหงือก ปวดฟันแผลอักเสบ ปวดท้องประจำเดือน คอเรสเตอรอล ไขมันในเส้นเลือด ไทรอยท์ ปวดเส้น ปวดหลัง โรคกระเพาะ ดวงตาที่เ็ป็นต้อ ดวงตาอับเสบ ขุ่นมัว โรคผิวหนังทั่วไป (สิว ฝ้า เป็นด่าง)...สรรพคุณเยอะเหลือเกิน
แถมท้ายเมนูไข่เจียว อิอิ เพราะไม่ได้ทานข้าวคนเดียว เดี๋ยวผู้ร่วมวงจะทานไม่อร่อย สำหรับไข่เจียวไม่ได้ทานบ่อยนัก ไข่มีประโยชน์ให้โปรตีน แต่ก็แฝงด้วยคอเรสเตอรอล ฉะนั้น..ต้องใส่หอมใหญ่ลงไปด้วย ใส่เยอะๆ เพราะหอมใหญ่ช่วยลดการอุดตันไขมันในเส้นเลือด ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด
เสร็จแล้่วก็ลงมือจัดสำรับ.. ^_^ เสริฟพร้อมข้าวสังข์หยด : มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ คือ มีกากใยอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ จึงมีประโยชน์ในการชะลอความแก่ นอกจากนี้มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรงและป้องกันโรคความจำเสื่อม และยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง (เชิญคนรักสุขภาพมาทานด้วยกันนะ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น